Vampire Coffin

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

Product and Package Visual Analysis

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง


(Product and Package Visual Analysis)


                                                            โดย  นางสาว  ณหทัย  ถาวร
27  มกราคม  2558


ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ
วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบมีวิถีและวิธีการทำงานที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงานของศิลปินในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไปได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงามที่ปรากฏเห็นเป็นรูปลักษณ์ภายนอกอันเป็นประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงานประเภทประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดงหลักฐานหรือต้องมีสื่อแสดงให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้นก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วมคิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นแชมพูบัวบกดอกอัญชัญตราศศิมาสมุนไพร
                 หมายเลข 1 ชื่อเจ้าของผู้ผลิต
                 หมายเลข 2 ชื่อผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 3 ส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 4 ที่อยู่แหล่งผลิดและบริษัทที่จัดจำหน่าย
                 หมายเลข 5 ปริมาณของผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 6 ฝาผลิตภัณฑ์
                
   การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
 สินค้าของผู้ประกอบการ
โมมมมมมมมมมมมมมมมม.JPGปแอิืทม.JPG


http://www.thaiherbdd.com/?i=31&p=684

http://www.xn--72cb4b6bludxe4dde1bd8s.com/sm_27108_120667_%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9,-%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7,-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99.htm

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน คาบที่3



สรุปการเรียน วันที่ 21/1/58

-ให้ศึกษา และหาวิธีตกแต่งเว็บบล็อกของตัวเอง จัดขนาดของตัวหนังสือหรือลูกเล่นต่างๆให้น่าสนใจ
-แปลสรุปข่าว หาข่าวและแปลบทความงานดีไซน์จาก The Dieline หรือจากแหล่งที่มาอื่น เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน

Homework

-เตรียมตัวสอบปฏิบัติกลางภาค ให้ออกแบบโลโก้ 123ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร (www.pnru.com)
-หาข้อมูลการทำ visual analysis
-ศึกษา product ที่เป็นสปา แล้วทำ visaul analysis อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ของจังหวัดชัยนาทก็ได้ หรือของที่อื่นก็ได้
-ศึกษาวิธิพับกระดาษของญี่ปุ่น และหัดทำตามแบบ จากนั้นทำส่งในคาบหน้าพร้อมใส่บรรจุภัณฑ์จริงมาด้วย

Veb Logosocity* หาข้อมูลและศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอนคาบที่ 2

สรุปการเรียนวันที่ 4/1/58

-ศึกษาวิธีการใช้Google+ รวมถึงเรียนรู้แอปพลิเคชั่นในGoogle+ เช่น Google Map คืออะไร สามารถอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร เป็นต้น
-ควรรมีวิจารณญาณในการใช้โซเชี่ยลและระมัดระวังในการอัพโหลดหรือโพสสิ่งต่างๆ
-ควรมีจริยธรรมในอาชีพของตนเอง


Homework

-ตัวอย่าง บันทึกการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
            
             เรื่อง การสร้างไฟล์เอกสารด้วย Google docs app
             (ใส่รูปภาพ)
             ภาพที่ 1 แสดงหน้าจอการสร้างไฟล์ใหม่จากเมนูไฟล์ในgoogle docs แสดงหน้าจอการสร้างไฟล์ใหม่
             ที่มา
             เนื้อหา

*ก็อปปี้อย่าให้เกิน4บรรทัด เกินนี้ถือว่าเป็นการอ้างอิง
*หัดตีความจากการแปลภาษาในgoogle

-หาความหมายของบรรจุภัณฑ์ (อ้างอิงให้ถูกต้อง) อย่างน้อย4-5แหล่งที่มา แล้วสรุปเป็นของตัวเองว่าบรรจุภัณฑ์คืออะไร การออกแบบบรรจุภัณฑ์หมายถึงอะไร ทำใส่blogให้เรียบร้อย

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอนคาบที่1 ฉบับแก้ไข

(ฉบับแก้ไข)
Subject : Packaging Design

คาบที่1 (07/01/58)

+Packaing Design Course
เว็บบอร์ดสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร

 หลัก 3 ส. (หลักการดำเนินงานออกแบบ)
1. สืบค้น (Research)
2. สมมติฐาน (Resume)
3. สรุปผล (Result)

ข้อตกลง
เข้าเรียน(เช็คชื่อ) 9:00 น.
เข้าสายได้ 2 ครั้ง
ลากิจ-ป่วยได้ (พร้อมใบลา,ใบรับรองแพทย์)

Homework
-สร้างไฟล์ Google Does ขอกลุ่ม
-สมัคร Claroline Learning
-หาความรู้เกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์
-คาบ หน้าเตรียม การดาษA4ใส่แฟ้มชนิดถอดได้เพื่อใส่งาน , แผ่นรองตัดขนาดA4 , ฟุตเหล็ก , คัตเตอร์ , การดาษสีหน้าเดียวขนาด 8x8 นิ้ว 6ใบ , โน๊ตบุ๊คเพื่อสอบ และ ดินสอกด2B

*การศึกษาทางศิลปวิทยา ถ้าคุณไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่ได้อะไร
**อาจารย์ไม่เคยฆ่าลูกศิษย์ จำไว้ Cr.อาจารย์ประชิด ทิณบุตร

มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
ปรัชญา : ความรู้ดี มีคุณธรรม ชุมชนพัฒนา

วิสัยทัศน์ : เป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญา พร้อมรับประชาคมอาเซียนและโลกาภิวัฒน์